Wednesday, February 8, 2017

เผด็จปล้นจนหมดคลัง

นกหวีดสิ ครับ เผด็จโกบโกยเอาหมด แล้วยัดหนี้ให้ประชาชนจนท่วมหัว กี่ชั่วอายุคนก็ใช้ไม่หมด ปรี๊ดๆๆๆๆๆ

กู้เงินแน่ มหาศาลด้วย !

นายเดชรัต สุขกำเนิด 

หัวหน้าภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร ม.เกษตร

กับคอลัมนิสต์ ฉลามเขียว  ระบุ

อย่าเพิ่งตกใจนะครับ ผมค่อนข้างมั่นใจว่า 

รัฐบาลคงจะต้องขอกู้เงิน

มาชดเชยการขาดดุลงบประมาณจำนวนมโหฬาร 

ในเร็วๆ วันนี้ 


ขอสรุปให้ท่านพล.อ.ประยุทธ์ ดังนี้


1.รัฐบาลจะมีเงินใช้แค่ 16 วัน


2.รัฐบาลจะต้องกู้เงินมหาศาล


จริงรึไม่...เป็นสิ่งที่หัวหน้ารัฐบาลจะต้องไปตรวจดู   

อย่างใจเย็นที่สุด

ถ้าเห็นว่าไม่จริงก็ต้องรีบแถลงข่าว  

แถลงอย่างไม่ฉุน !


รัฐบาลของท่านทำสถิติการขาดดุล

โดยเฉลี่ยเดือนละ 139,427 ล้านบาท 

เงินคงคลังที่เหลืออยู่ 74,907 ล้านบาท

ก็จะเพียงพอที่จะจ่ายเงินได้เพียง 16 วันเท่านั้น !


💰💵💴💶💷💸💱


นี่คือเหตุให้รัฐที่ถังแตก เร่งรีดภาษีเป็นการด่วน


ข่าวว่า รัฐสั่งให้สรรพสามิตเก็บภาษีเพิ่ม

จากปีละ 500,000 ล้าน เป็น 800,000ล้าน 

ทำให้คลังต้องหาทางรีดภาษีประชาชนมากขึ้นเรื่อยๆ 

ถึงแม้เศรษฐกิจจะฝืดเคืองก็ต้องทำ

เพราะเป็นคำสั่งให้ รีดเลือดประชาชน !


ภาษีน้ำตาลจะช่วยรัฐกวาดรายได้เพิ่ม 10,000 ล้าน

โดยนายทุนจะขึ้นราคาผลักภาระมาให้ประชาชน !


เอาเงินประกันสังคมของประชาชนมาใช้


เรียกคืนเงินจากกองทุนคนพิการ 2,000 ล้าน 

(ตอนนี้ สมาคมสภาคนพิการ เป็นทุกข์

จนต้อง ไปยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครอง 

ขอให้ระงับและเพิกถอนคำสั่งกระทรวงการคลัง 

ที่จะนำเงิน 2,000 ล้านบาท จากกองทุนส่งเสริม

และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ 

มาใช้เป็นรายได้ของแผ่นดิน )


ยกเลิกการแจกหนังสือเรียน

ที่มีรายจ่ายปีละร่วม 5,000 ล้าน


ขึ้นภาษีอื่นๆเช่นพลังงาน 

ทำให้เครื่องบินต้องผลักภาระมาให้ประชาชน

โดยปรับขึ้นราคาค่าโดยสาร 


นี่คือความเดือดร้อนที่ประชาชนทั้งประเทศ

จำต้องแบกรับ

เพราะมีรัฐบาลโง่งม ที่เข้ามาผลาญชาติ

สร้างความเดือดร้อนมาให้ประชาชนไม่มีวันจบสิ้น


ตราบเท่าที่มันยังอยู่ !

Tuesday, February 7, 2017

ข้าราชการมีหนาว

แจมเรื่อง "เงินคงคลัง" กะ "รัฐบาลถังแตก?" มั่ง เดี๋ยวจะตกเทร็นด์

เงินคงคลัง เป็นบัญชีเงินฝากของ ก.คลัง ก็เสมือน "เงินสดในลิ้นชัก" ร้านโชวห่วย เป็นเงินสำรองจากกระแสเงินเข้า-ออกรายวัน เงินเข้าคือรายรับบวกเงินกู้ เงินออกคือรายจ่ายบวกเงินใช้หนี้

รัฐบาลนี้ขาดดุลงบ 58-59 ปีละกว่า 3 แสนล้านบาท ทำให้ขาดดุลเงินสดปีละกว่า 3 แสนล้านเช่นกัน

ถ้าจะไม่ให้เงินคงคลังลดลง ก็ต้องเก็บภาษีเพิ่มหรือกู้เพิ่ม ซึ่งรัฐบาลนี้ทำทั้งสองอย่าง โดยงบปี 58-59 สองปี รบ.นี้กู้รวมกัน 6.7 แสนล้านบาท ทำให้เงินคงคลัง ณ สิ้น ก.ย. 59 ยังสูงที่ 4.4 แสนล้านบาท

แต่แล้ว แค่สามเดือน ณ สิ้น ธ.ค.59 เงินคงคลังฮวบเหลือแค่ 7.5 หมื่นล้านบาท!? ต่ำสุดในรอบหลายปี เกิดอะไรขึ้น?

สาเหตุคือ ช่วงสามเดือนนั้น รายได้รัฐหดหายไป 5.2% แต่ใช้จ่ายเพิ่ม 6% (เฉพาะธ.ค. 59 เดือนเดียว รายได้รัฐหายไป 22.7%) แต่รบ.กลับกู้สุทธิเพิ่มแค่ 5 พันล้านบาทเท่านั้น  ผลคือในสามเดือน รบ.ขาดดุลเงินสดสูงถึง 3.7 แสนล้านบาท จนเงินคงคลังเหลือแค่ 7.5 หมื่นล้านบาท

ทั้งหมดนี้เพราะ ก.คลังบริหารเงินสดเข้า-ออกผิดพลาด (รายรับลดฮวบเกินคาด และไม่ได้เตรียมกู้สำรอง) หรือเป็นตามที่ รมต.คลังอ้างว่า มีนโยบายเก็บเงินสดไว้น้อย ๆ ไม่กู้เงินมากองไว้ จะได้ไม่ต้องเสียดบ. และที่ขึ้นภาษีน้ำมันเครื่องบินก็ไม่เกี่ยว เป็นอย่างไหนผู้อ่านก็คิดดูเอาเองแล้วกัน!

แต่รบ.มีรายรับเดือนละ 1.5-3.0 แสนล้านบาท รายจ่ายเดือนละ 2-4 แสนล้านบาท เฉพาะเงินเดือนค่าจ้างพนง.-ข้าราชการก็ปาเข้าไปเดือนละ 5 หมื่นล้านบาทแล้ว ฉะนั้น เงินในลิ้นชักแค่ 7.5 หมื่นล้านบาท มันจะฉิวเฉียดมากไปหรือเปล่าครับท่าน?

ข้าราชการมีหนาว

แจมเรื่อง "เงินคงคลัง" กะ "รัฐบาลถังแตก?" มั่ง เดี๋ยวจะตกเทร็นด์

เงินคงคลัง เป็นบัญชีเงินฝากของ ก.คลัง ก็เสมือน "เงินสดในลิ้นชัก" ร้านโชวห่วย เป็นเงินสำรองจากกระแสเงินเข้า-ออกรายวัน เงินเข้าคือรายรับบวกเงินกู้ เงินออกคือรายจ่ายบวกเงินใช้หนี้

รัฐบาลนี้ขาดดุลงบ 58-59 ปีละกว่า 3 แสนล้านบาท ทำให้ขาดดุลเงินสดปีละกว่า 3 แสนล้านเช่นกัน

ถ้าจะไม่ให้เงินคงคลังลดลง ก็ต้องเก็บภาษีเพิ่มหรือกู้เพิ่ม ซึ่งรัฐบาลนี้ทำทั้งสองอย่าง โดยงบปี 58-59 สองปี รบ.นี้กู้รวมกัน 6.7 แสนล้านบาท ทำให้เงินคงคลัง ณ สิ้น ก.ย. 59 ยังสูงที่ 4.4 แสนล้านบาท

แต่แล้ว แค่สามเดือน ณ สิ้น ธ.ค.59 เงินคงคลังฮวบเหลือแค่ 7.5 หมื่นล้านบาท!? ต่ำสุดในรอบหลายปี เกิดอะไรขึ้น?

สาเหตุคือ ช่วงสามเดือนนั้น รายได้รัฐหดหายไป 5.2% แต่ใช้จ่ายเพิ่ม 6% (เฉพาะธ.ค. 59 เดือนเดียว รายได้รัฐหายไป 22.7%) แต่รบ.กลับกู้สุทธิเพิ่มแค่ 5 พันล้านบาทเท่านั้น ผลคือในสามเดือน รบ.ขาดดุลเงินสดสูงถึง 3.7 แสนล้านบาท จนเงินคงคลังเหลือแค่ 7.5 หมื่นล้านบาท

ทั้งหมดนี้เพราะ ก.คลังบริหารเงินสดเข้า-ออกผิดพลาด (รายรับลดฮวบเกินคาด และไม่ได้เตรียมกู้สำรอง) หรือเป็นตามที่ รมต.คลังอ้างว่า มีนโยบายเก็บเงินสดไว้น้อย ๆ ไม่กู้เงินมากองไว้ จะได้ไม่ต้องเสียดบ. และที่ขึ้นภาษีน้ำมันเครื่องบินก็ไม่เกี่ยว เป็นอย่างไหนผู้อ่านก็คิดดูเอาเองแล้วกัน!

แต่รบ.มีรายรับเดือนละ 1.5-3.0 แสนล้านบาท รายจ่ายเดือนละ 2-4 แสนล้านบาท เฉพาะเงินเดือนค่าจ้างพนง.-ข้าราชการก็ปาเข้าไปเดือนละ 5 หมื่นล้านบาทแล้ว ฉะนั้น เงินในลิ้นชักแค่ 7.5 หมื่นล้านบาท มันจะฉิวเฉียดมากไปหรือเปล่าครับท่าน?

Regards,
Somsak Rachso

Monday, February 6, 2017

มวยล้มต้มคนดู คดีรับสินบน โรลส์-รอยซ์

 

ค้านคลังแก้กม.ลดโทษผู้ให้สินบน แค่ปรับ-ไม่ติดคุก

โดย ผู้จัดการรายวัน   
5 กุมภาพันธ์ 2560 22:07 น. (แก้ไขล่าสุด 6 กุมภาพันธ์ 2560 00:36 น.)
        "ราเมศ" ค้าน แนวคิดคลังแก้กม.อาญา ลดโทษคนให้สินบนเหลือแค่ปรับไม่ต้องติดคุก ชี้เดินผิด สวนทางนโยบายปราบโกง ส่งเสริมทุจริตมากขึ้น กระทบฐานความผิดหลายกรณีต้องแก้หมด หวังรัฐบาลทบทวน ด้าน"ชาญชัย" เผยกฎหมาย ป.ป.ช.กันคนชี้ทุจริตเป็นพยานไม่ต้องรับโทษอยู่แล้ว หวั่นแก้ตามคลัง ทำล้มคดีเพียบ หมดหวังเอาผิดสินบนข้ามชาติโรลส์-รอยซ์ หลัง ป.ป.ช. อ้างต้องรอชื่อคนรับสินบนจากต่างชาติ ส่อซ้ำรอย "ซีทีเอ็กซ์" เตรียมเอาผิดป.ป.ช. ย้อนหลัง
       
       นายราเมศ รัตนะเชวง ฝ่ายกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีรมว.คลัง เตรียมเสนอให้นายกรัฐมนตรี แก้กฎหมายลดโทษผู้ให้สินบนจากจำคุกเหลือแค่โทษปรับ ว่า ตนไม่เห็นด้วย และเสียงของสังคมก็ไม่เห็นด้วย จึงอยากให้มีการทบทวนในเรื่องนี้ ซึ่งตนเห็นว่า ขณะนี้มีความผิดปกติหลายอย่าง ที่เกิดขึ้นกับรัฐบาล สนช. และ สปท. นายราเมศ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้มีปัญหาเกี่ยวกับ ร่าง พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างหลายมาตราเอื้อทุจริต ทั้งที่ นายกฯ และนายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ระบุว่า จะให้เป็นของขวัญกับคนไทยแต่เป็นของขวัญที่ไม่สมบูรณ์ เพราะมีการยกเว้นให้กับรัฐวิสาหกิจ ทั้งที่เป็นแหล่งที่มีงบประมาณ และมีการแสวงหาประโยชน์กันมากที่สุด กระทั่งเกิดกรณีรับสินบนข้ามชาติ จึงขอเรียกร้องให้นายกฯ ทบทวนเพื่อให้รัฐวิสาหกิจ มีหลักเกณฑ์ในการจัดซื้อจัดจ้างที่ชัดเจน โดยเสนอกฎหมายเฉพาะมาอีกหนึ่งฉบับ แทนที่จะเปิดช่องให้แต่ละรัฐวิสาหกิจไปออกระเบียบกันเอง
       
       "รัฐบาลขายฝันว่าเอาจริงกับการปราบทุจริต อยากให้ทำให้เห็นสักราย โดยเฉพาะกรณีที่มีสนช.สองคนพัวพันกับการทุจริต แต่กลับยังคงทำหน้าที่ปกติ จึงมีข้อสงสัยว่า มีการปิดตาข้างหนึ่งหรือไม่ นอกจากนี้กระทรวงการคลัง ยังเสนอให้ลดโทษคนให้สินบนโดยอ้างต่างประเทศ ไม่อยากให้เกิดความสับสน โดยเห็นว่ากฎหมายที่บังคับใช้อยู่นั้น ดีอยู่แล้ว หากทำตามข้อเสนอของกระทรวงการคลัง จะมีผลกระทบต่อฐานความผิดอีกหลายฐานความผิด ที่สำคัญ จะกระทบกับฐานความผิดต่อเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา แล้วกระบวนการยุติธรรมจะศักดิ์สิทธิ์ได้อย่างไร หากเดินตามแนวนี้ จะส่งเสริมให้เกิดการทุจริตอย่างใหญ่หลวง เพราะแค่รับสารภาพ และเสียค่าปรับเท่านั้น จะเป็นมูลเหตุจูงใจทำให้คนกล้าให้สินบนมากขึ้น เพราะถ้าไม่ถูกจับได้ ก็สบาย แต่ถ้าถูกจับได้ ก็แค่เสียค่าปรับ จึงอยากให้ คสช.และรัฐบาลทบทวน ถ้าเดินตามนี้ ถือว่าเป็นการเดินผิดทาง
       
       ด้านนายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ อดีต ส.ส.นครนายก พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า กฎหมายเดิมมีการระบุเกี่ยวกับคนให้ข้อมูลเรื่องการทุจริต เพื่อชี้มูลความผิดผู้อื่น ป.ป.ช.สามารถกันเป็นพยานได้อยู่แล้ว ซึ่งก็จะไม่ต้องรับโทษเพื่อเอาตัวผู้กระทำผิด โดยมีการใช้มาแล้วหลายครั้ง เช่น กรณีการโกงสอบนายอำเภอ และกรณีผู้ประกอบการที่ให้สินบนกับเจ้าหน้าที่ ในคดีจำนำข้าว ดังนั้นการจะเขียนกฎหมายใหม่ ก็จะซ้อนกับกฎหมายป.ป.ช. มาตรา 123/5 วรรคสอง โดยสรุปคือ ให้ปรับบริษัทหรือนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตได้หนึ่งเท่า แต่ไม่เกินสองเท่าของค่าเสียหายที่เกิดขึ้น หรือประโยชน์ที่ได้รับ
       
       นอกจากนี้ มาตรา 103/6 ระบุว่า ให้กันผู้ร่วมกระทำความผิด หรือผู้ที่ถูกกล่าวหาให้เป็นพยานได้ ซึ่งเป็นกฎหมายที่บังคับใช้ตั้งแต่ปี 54 จึงสงสัยว่ากระทรวงการคลัง คิดครบถ้วนหรือยัง เพราะถ้าทำตามที่กระทรวงการคลังเสนอ จะกระทบไปหลายคดี จนอาจนำไปสู่การวิ่งเต้นล้มคดีได้
       
       สำหรับการแก้ปัญหานั้น เสนอให้คดีทุจริตไม่มีอายุความ มีการเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ที่อยู่ในตำแหน่งที่มีอำนาจในการอนุมัติ อนุญาตทุกตำแหน่งในรัฐวิสาหกิจ และห้ามนำคนในกระบวนการยุติธรรม เข้ามาเป็นคณะกรรมการบริหาร หรือบอร์ดในรัฐวิสาหกิจ เพราะแม้จะเป็นคนดี แต่เมื่อมีเรื่องทุจริตในองค์กรนั้น ก็จะเสียคนทุกที ซึ่งมีผลอาจทำให้เกิดปัญหาการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ซึ่งควรเขียนให้ชัดเจนในกฎหมายลูก เพราะ ร่างรธน.ปี 59 ไม่ได้ระบุห้ามไว้อย่างชัดเจน
       
       "เรื่องของสินบนข้ามชาติโรลส์-รอยซ์ หากเป็นเช่นนี้เชื่อว่าจะจบเหมือนซีทีเอ็กซ์ คือเอาผิดใครไม่ได้ ทั้งที่เป็นยุคของการสะสางเอาคนผิดมาลงโทษ แต่คนที่มีหน้าที่โดยตรงยังไม่กระตือรือร้น อ้างรอข้อมูลจากต่างชาติ ถ้าสุดท้ายเอาผิดใครไม่ได้ คนที่รับผิดชอบต้องได้รับผิดด้วย เพราะมีหน้าที่สะสาง ถ้าทำไม่ได้ ก็ต้องออกไป ถ้าหน้าด้านนั่งอยู่ตรงนี้อีก มีคนดำเนินคดีกับพวกท่านแน่ เรื่องซีทีเอ็กซ์ ที่ป.ป.ช.ยกคำร้อง บอกว่าไม่มีชื่อ หลักฐานคนที่ได้รับสินบนนั้น ก็มีข้อสงสัยว่า จากการสอบก็รู้ว่าใครเกี่ยวข้องบ้างอ้างแค่ว่าไม่มีชื่อบุคคล ทำให้เอาผิดใครไม่ได้ จึงมีแนวโน้มว่า ป.ป.ช.จะต้องถูกเอาผิดย้อนหลังด้วย พอมาถึงกรณีสินบนโรลส์-รอยซ์ ก็ดูจะซ้ำรอยเดิมอีก คิดว่าคนไทยคงไม่ยอม" นายชาญชัย กล่าว 

จำนวนคนอ่าน 81 คน
ยังไม่มีผู้โหวต
คุณคิดอย่างไรกับการนำเสนอข่าว/บทความนี้
ควรปรับปรุงดีมาก
 12345 
12345
คุณสามารถแสดงความคิดเห็นผ่านบัญชีของเฟซบุกได้แล้ววันนี้ กดที่ปุ่มด้านล่างนี้เลย!

 

เผด็จ แดกมูมมาม จนถังแตก

อจ.เศรษฐศาสตร์ งัด3เหตุผล สวนกลับรมว.คลัง หลังยันเงินคงคลังวูบ แต่รัฐไม่ถังแตก

82

วันนี้ (6 ก.พ.) เมื่อสักครู่ที่ผ่านมา (21.00 น.) นายเดชรัต สุขกำเนิด หัวหน้าภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวชื่อ Decharut Sukkumnoed ถึงกรณีปัญหาเงินคงคลังวูบเหลือน้อยในขณะนี้ โดยระบุในบทความ เงิน (ไม่) คงคลัง มีรายละเอียดดังนี้

ตามที่นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่ากระทรวงการคลัง เปิดเผยต่อสื่อมวลชนในบ่ายวันนี้ว่า ระดับเงินคงคลังในเดือนธันวาคม 2559 ที่ต่ำถึง 7.49 หมื่นล้านบาท เนื่องจากเป็นการบริหารจัดการของกระทรวงการคลังที่ไม่ต้องการกู้เงินมากองไว้ จะได้ไม่ต้องเสียดอกเบี้ย โดยมีการประเมินว่าระดับเงินคงคลังควรอยู่ที่ 5 หมื่นล้านบาท-1 แสนล้านบาท ดังนั้น การมีระดับเงินคงคลัง 3-5 แสนล้านบาท ถือว่ามากเกินไป

ผมขอตั้งข้อสังเกตในคำแถลงของท่าน 3 ประการ ดังนี้ครับ

ประการแรก ผมแปลกใจที่ท่านบอกว่า นโยบายของท่านคือไม่กู้เงินมากองไว้ เพราะเมื่อต้นปีงบประมาณ 2559 เดือนตุลาคม 2558 ท่านกู้เงินชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 99,094 ล้านบาท ทั้งๆ ที่ตอนนั้นเงินคงคลังของรัฐบาลก็มีมากกว่า 426,182 ล้านบาท ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน ท่านก็กู้อีก 109,076 ล้านบาท ทั้งๆ ที่ตอนนั้นท่านก็มีเงินคงคลัง 295,880 ล้านบาท หรือตอนเดือนเมษายน 2559 ท่านก็กู้อีก 46,436 ล้านบาท ตอนนั้นเงินคงคลังของรัฐบาลมี 206,218 ล้านบาท
และล่าสุดเมื่อเดือนตุลาคม 2559 เงินคงคลังของรัฐบาลมีอยู่ 441,300 ล้านบาท ท่านก็ยังกู้เงินมาเติมเงินคงคลังอีก 52,714 ล้านบาท

เพราะฉะนั้น กล่าวโดยสรุปว่า ที่ผ่านมา ผมไม่เห็นว่า ท่านปฏิบัติตามแนวทางที่ท่านกล่าวไว้ หรือท่านเพิ่งเปลี่ยนแนวทางการบริหารเงินคงคลังเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2559 หรือ 3 เดือนที่ผ่านมา

และถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ผมก็สงสัยว่า การที่ท่านกู้เงินมากองไว้ตลอดปีงบประมาณ 2559 เป็นการสร้างภาระของประเทศใช่หรือไม่? แล้วทำไมท่านจึงสร้างภาระให้กับประเทศแบบนั้น?

ประการที่สอง ตามที่ท่านบอกว่า เงินคงคลัง 74,907 ล้านบาทถือว่าเหมาะสม เพราะอยู่ในช่วงระหว่าง 50,000-100,000 ล้านบาทนั้น ผมว่าการกำหนดจำนวนเงินคงคลังที่เหมาะสมจำเป็นต้องพิจารณาถึงภาระการใช้จ่ายของรัฐบาลเป็นสำคัญ

ในช่วงรัฐบาล คสช. เงินคงคลังไม่ได้ทำหน้าที่เป็นเงินเก็บออมของประเทศเลย แต่ทำหน้าที่เป็นกระเป๋าจ่ายเงินชดเชยการดุลงบประมาณมาโดยตลอด หากเทียบจากปีงบประมาณ 2559 ที่ผ่านไป รัฐบาลของท่านมีงบประมาณขาดดุลเฉลี่ยเดือนละ 32,987 ล้านบาท ซึ่งต้องเอาเงินคงคลังที่เหลืออยู่ 74,907 ล้านบาทมาจ่าย เราก็จะจ่ายชดเชยการขาดดุลงบประมาณได้ประมาณ 2 เดือนเท่านั้น

แต่หากเราเอาตัวเลขการขาดดุลงบประมาณในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2560 ซึ่งรัฐบาลของท่านทำสถิติการขาดดุลโดยเฉลี่ยเดือนละ 139,427 ล้านบาท เงินคงคลังที่เหลืออยู่ 74,907 ล้านบาทก็จะเพียงพอที่จะจ่ายเงินได้เพียง 16 วันเท่านั้น

ลองคิดดูสิครับว่าจะเป็นไปได้อย่างไร? ที่ประเทศเราจะมีเงินคงคลังหนึ่งแสนล้านบาทตามที่ท่านรัฐมนตรีกล่าว ในขณะที่เราภาระการขาดดุลงบประมาณเดือนละ 139,427 ล้านบาท

แต่อย่าเพิ่งตกใจนะครับ ผมค่อนข้างมั่นใจว่า รัฐบาลคงจะต้องขอกู้เงินมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณจำนวนมโหฬารในเร็วๆ วันนี้ และนั่นนำมาสู่ข้อห่วงใยประการที่สาม
โดยทั่วไป เงินคงคลังทำหน้าที่เป็นทั้งเก็บออม และจ่ายออก แต่ในช่วงรัฐบาล คสช. เงินคงคลังทำหน้าที่จ่ายออกแต่เพียงอย่างเดียว แล้วท่านก็กู้เงินมาโปะ ตลอด 3 ปีงบประมาณ 2557-2559 ท่านกู้เงินมาโปะการใช้จ่ายเกินดุลของท่านไปแล้วกว่า 744,187 ล้านบาท

ท่านอาจแย้งว่า รัฐบาลก่อนหน้านี้ก็ทำงบประมาณแบบขาดดุลเช่นกัน ซึ่งก็จริงครับ ผมเลยเปรียบเทียบภาระการดุลงบประมาณของรัฐบาล คสช. และรัฐบาลก่อนหน้านั้นมาให้ดูครับ

ในช่วงปีงบประมาณ 2550-2556 ซึ่งเรามีอยู่ด้วยกัน 5 นายกรัฐมนตรี ในช่วงนั้น เราขาดดุลงบประมาณเฉลี่ยปีละ 289,703 ล้านบาท หรือเท่ากับร้อยละ 12.6 ของเงินรายได้ของรัฐบาลในแต่ละปี (พูดง่ายมีเงิน 100 แต่จ่าย 112 บาท)

แต่ในช่วงรัฐบาลของท่าน (ปีงบประมาณ 2558 และ 2559) ท่านขาดดุลงบประมาณเฉลี่ยปีละ 395,145 ล้านบาท (หรือขาดดุลเพิ่มขึ้นจากเดิมปีละเกือบหนึ่งแสนล้านบาท) ซึ่งเทียบเป็นร้อยละ 17.1 ของเงินรายได้ของรัฐบาลในแต่ละปี

เพียงแค่ช่วง 3 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2560 นี้ ท่านขาดดุลงบประมาณไป 418,282 ล้านบาท มากขึ้นกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 111,346 ล้านบาทเลยทีเดียว
ซึ่งในประเด็นการขาดดุลงบประมาณนี้ นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่ากระทรวงการคลังไม่ได้ชี้แจงใดๆ ส่วนท่านนายกรัฐมนตรีก็ตอบนักข่าวด้วยฉุนเฉียวว่า มีคนขอให้รัฐบาลช่วยเยอะ รัฐบาลจึงตอบสนองต่อเสียงเรียกร้องดังกล่าว

รัฐบาล คสช.จึงควรมีการกำหนดกรอบการขาดดุลงบประมาณให้ชัดเจน ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นไปเพื่อประโยชน์ทางการเมืองของรัฐบาล คสช.เอง เพราะการขาดดุลงบประมาณที่มากขึ้น และมากขึ้นเรื่อยๆ จะกลายเป็นการสร้างภาระให้กับรัฐบาลและประชาชนไทยในอนาคต

มิฉะนั้น บทแรกของยุทธศาสตร์ชาติในอนาคต อาจต้องเริ่มต้นจากการยุทธศาสตร์การใช้หนี้ที่ก่อกันในวันนี้

 

counter