Sunday, February 5, 2017

ญี่ปุ่นกับ ความมีระเบียบวินีย

Nihon/Japan & Siam/Thailand 
ญี่ปุ่น กับ สยามประเทศไทย
same same but very very different

คนไทย ชอบและชื่นชมญี่ปุ่นมากๆๆ
คนไทย ไปเที่ยวญี่ปุ่น ก็เยอะ 
ไปเรียนเอาปริญญาญี่ปุ่น ก็ไม่น้อย

แต่คนไทยก็เข้าใจญี่ปุ่นผิวเผิน
ส่วนใหญ่ "มโน" เอา
คิดว่าเพราะญี่ปุ่น "มีวินัย รักชาติ" เลยเจริญ เท่านั้นเอง

คนไทยเกือบจะไม่รู้เลยว่า
"วินัยและความรักชาติ" ทำให้ญี่ปุ่นเกือบสูญชาติ

ญี่ปุ่นมีวินัย รักชาติ รักเทิดทูนจักรพรรดิมากเป็นล้นพ้น
จนสร้างชาตินิยมทหาร (ขุนศึกศักดินา)
สร้างจักรพรรดิ เป็นเทพ "บันไซเทนโนะ"
มี กม. หมิ่นรุนแรงแบบไทยวันนี้

ขุนทหารในพระปรมาภิไธยจักรพรรดิฮิโรฮิโต
รุกรานไปทั่ว เข้ายึดครองไต้หวัน 
เกาหลี จีน แมนจูเลีย
บุกไทย บุกอุษาคเนย์ ถล่มเพิร์ลฮาร์เบอร์

จนถูกถล่มด้วยปรมาณู 2 ลูก ฮิโรชิมา นากาซากิ
แพ้สงคราม ถูกยึดครอง
นรม โตโจ พันธมิตรของ ป.พิบูลสงคราม
ถูกจับแขวนคอ

จักรพรรดิฮิโรฮิโต เพื่อความอยู่รอด 
ต้องบากหน้าไปเข้าพบนายพลแมคอาร์เธอร์ อเมริกัน
ที่อนุมัติให้ทรงครองราชต่อได้

(จีน กับ ออสเตรเลีย ต้องการให้ล้มจักรพรรดิ เมื่อญีปุ่นแพ้สงคราม
แต่อเมริกา ผู่ยึดครองต้องการเก็บไว้ ใช้เป็นเครื่องมือยึดครอง)

แล้วอเมริกาก็ให้จักพรรดิ 
ประกาศยกเลิกว่าเป็นเทพ เป็นเทนโนะ
ต้องขอโทษประชาชน
ต้องอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ
ไม่ให้มี กม.หมื่นฯ ไม่ให้มีกองทัพ
(อเมริกา ยังมีฐานทัพในโอกินาวา)

อเมริกา บังคับให้มีประชาธิปไตย มีเลือกตั้ง
ให้พัฒนาเศรษฐกิจ เป็นฐานให้สหรัฐอเมริกา (สงครามเกาหลี)
สู้กับจีน กับรัสเซีย มาจนถึงทุกวันนี้

ดังนั้น ญี่ปุ่นเจริญ เพราะ "มีวินัย รักชาติ" ก็จริง
แต่ญี่ปุ่นสมัยใหม่ ก็ต้องรู้ว่า ต้องจำกัดอำนาจขุนศึกศักดินา

ญี่ปุ่นสมัยใหม่ รู้ดีว่าต้องพึ่งตนเอง ต้องพัฒนาการศึกษา
ให้มีมหาวิทยาลัยติดอันดับโลก
มี อ.มีงานวิจัยได้รางวัลโนเบล
มีศิลปิน นักเขียน ติดอันดับโลก

คนญี่ปุ่นสมัยใหม่ รู้ดีว่า "ตนเป็น ที่พึ่งแห่งตน"
และตนมีประวัติที่เจ็บปวด 
เกือบสุญชาติ เพราะ "ระบอบเก่า" เพราะจักรพรรดิ เพราะขุนศึก ครับ

ดังนั้น
คนญี่ปุ่นปัจจุบัน จึงสร้างนาฬิกาให้ตนเอง 2 เรือน
เรือนหนึ่ง เดินไปข้างหน้าด้วยความมั่นใจ 
ด้วยวิชาการ สติปัญญา ด้วยอดีตอันเป็นบทเรียน

นาฬิกา อีกเรือน เดินถอยหลัง กลับไปสู่อดีต
ที่เป็นจริง ไม่ฟูมฟาย และไม่ "มโน" 
รักษาไว้ แต่พองาม ไม่ล้นเกิน 
รวมทั้งสถาบันจักรพรรดิ 
กับขนบธรรมเนียมประเพณี ครับ

cK@OikeKyoto4Feb2015

No comments:

Post a Comment